ริมฝีปากคล้ำ
ความหมองคล้ำของผิวหนังเกิดขึ้นเมื่อส่วนหนึ่งของผิวมีสีเข้มกว่าบริเวณอื่นโดยรอบ ความหมองคล้ำนี้เกิดขึ้นจากเม็ดสีผิวหรือเมลานิน เมลานินเป็นเม็ดสีที่ผลิตโดยเซลล์ชื่อเมลาโนไซต์ เมลานินเป็นสารสำคัญที่ทำให้เกิดสีผิว เมื่อผิวหนังผลิตเมลานินมากขึ้นก็จะทำให้เกิดรอยคล้ำขึ้น
เพราะสาเหตุใดริมฝีปากจึงมีสีที่แตกต่างจากผิวหนังทั่วไป
ปกติแล้วผิวหนังประกอบด้วยเซลล์หลายชั้น แต่ริมฝีปากมีเซลล์เพียง 3 ถึง 5 ชั้นเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าผิวหนังบริเวณริมฝีปากนั้นบางกว่า และริมฝีปากยังได้รับเลือดจากเส้นเลือดฝอย ด้วยเหตุนี้ ริมฝีปากจึงแสดงสีของเส้นเลือดฝอยที่อยู่ข้างใต้เป็นสีแดงเข้มหรือสีชมพูออกมา
สาเหตุที่ทำให้ริมฝีปากมีความคล้ำแตกต่างกัน
1. เชื้อชาติ:
ริมฝีปากมีสีและโทนหลากหลาย บางคนมีริมฝีปากโทนสีชมพู ในขณะที่บางคนมีริมฝีปากโทนสีม่วงหรือสีมะกอก (สีโทนน้ำตาล) ทุกอย่างล้วนขึ้นอยู่กับพันธุกรรมและเชื้อชาติ ผู้มีผิวสีอ่อนมักมีริมฝีปากสีชมพูกุหลาบ ในขณะที่ผู้ที่มีผิวสีเข้มจะมีริมฝีปากโทนสีม่วง แต่นี่ก็ไม่ใช่กฎที่ตายตัว
2. การสูบบุหรี่:
บุหรี่มีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ส่งผลให้เกิดโรคถุงลมโป่งพองไปจนถึงโรคมะเร็ง การสูบบุหรี่ยังส่งผลต่อสีปากด้วย ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำจะมีริมฝีปากคล้ำ โดยนิโคตินคือตัวการในเรื่องนี้
3. การเคี้ยวหมาก:
หมาก ใบพลูและมะนาวนำมาเคี้ยวเป็นของทานเล่น และยังทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นและช่วยในการย่อยอาหารอีกด้วย หมากประกอบไปด้วยใบพลูและผลหมาก การเคี้ยวหมากเป็นเวลานานสามารถทำให้ริมฝีปากคล้ำได้
4. กาแฟ ชา และของเหลวอื่น ๆ ที่มีความสามารถในการย้อมสี:
สีของเครื่องดื่มและของเหลวเหล่านี้ที่ติดอยู่บนถ้วยหรือแก้วยังสามารถติดอยู่บนริมฝีปากและฟันได้อีกด้วย การลดการบริโภคเครื่องดื่มเหล่านี้ช่วยลดความคล้ำของริมฝีปากได้
5. การสัมผัสกับแสงแดดเป็นเวลานาน:
การได้รับรังสียูวีที่เพิ่มขึ้นทำให้เซลล์เมลาโนไซต์ผลิตเม็ดสีเมลานินมากเกินไป การสัมผัสกับแสงแดดเป็นเวลานานจึงทำให้ริมฝีปากคล้ำได้
6. ฮีโมโครมาโตซิส (ภาวะเหล็กเกิน):
ปริมาณธาตุเหล็กในร่างกายจำนวนมากสามารถทำให้ริมฝีปากคล้ำได้
7. ยาที่สร้างเมลานิน:
- ผู้รับประทานยาแก้ปวดจำนวนมากโดยเฉพาะ NSAIDS (ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์) เนื่องจากอาการบาดเจ็บสาหัส เช่น กระดูกหักหลายชิ้นหลังจากการเกิดอุบัติเหตุ หรือมีอาการเรื้อรัง เช่น โรคไขข้ออักเสบ สามารถทำให้ริมฝีปากคล้ำได้
- ยาต้านจุลชีพ เช่น ซัลโฟนาไมด์ ไซโคลฟอสฟาไมด์ ด็อกโซรูบิซิน ซึ่งนำมาใช้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งระหว่างการรักษา ยาชนิดนี้ส่งผลให้ริมฝีปากคล้ำได้
- หากคุณเคยมีความวิตกกังวล คุณต้องเคยได้ยินชื่อของยาเอสซิตาโลแพรมและบาร์บิเชอริต ยาเหล่านี้ช่วยผ่อนคลายระบบประสาท แต่ส่งผลให้ริมฝีปากคล้ำ
- เลโวโดปา (Levodopa) ก็เป็นสาเหตุทำให้ริมฝีปากคล้ำเช่นกัน เลโวโดปาเป็นยาที่ถูกใช้ในการรักษาโรคพาร์กินสัน
- ยาต้านเชื้อรา เช่น คีโตโคนาโซล ก็ทำให้ริมฝีปากคล้ำได้
- ทางด้านผู้ป่วยโรคเกาต์จะต้องรับประทานยาโคลชิซิน ซึ่งต้องควรระวังเพราะจะทำให้ริมฝีปากคล้ำขึ้นได้
8. การแสดงอาการของโรคต่าง ๆ:
บางคนมีริมฝีปากคล้ำเนื่องจากโรคบางอย่าง เช่น
- รอยดำหลังการอักเสบ
- โรคไลเคนพลานัส (Lichen planus)
- โรคแพ้ภูมิตัวเอง
- กระหรือขี้แมลงวัน
- ไฝ
- กลุ่มอาการพอยซ์เจเกอร์ (Peutz–Jeghers)
- Bandler syndrome
- กลุ่มอาการเสือดาว
- ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
- โรคแอดดิสัน
- กลุ่มอาการคุชชิง
- กลุ่มอาการเนลสัน
- โรคอะโครเมกาลี
- ไทรอยด์เป็นพิษ
- พิษจากโลหะหนัก
9. โรคมะเร็ง:
เนื้องอกที่ไม่อันตรายและมะเร็งที่อันตรายต่าง ๆ สามารถทำให้ริมฝีปากคล้ำได้ ซึ่งรวมถึง:
- โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา
- มะเร็งผิวหนังชนิด Malignant melanoma
- เนื้องอกของหลอดเลือดประเภท Cavernous hemangioma
- รอยโรคของปัญหาเม็ดสีที่ไม่ร้ายแรง
- รอยโรคของปัญหาเม็ดสีที่ร้ายแรง
การป้องกันไม่ให้ริมฝีปากดำคล้ำ
- เลิกสูบบุหรี่
- จำกัดการสัมผัสกับแสงแดด
- ทาครีมกันแดดเสมอ เลือกใช้ลิปบาล์มและลิปอีกหลายประเภทที่ผสมสารกันแดด
- หมวกปีกกว้างเป็นไอเท็มการแต่งกายที่ช่วยปกป้องใบหน้าและริมฝีปากของคุณจากรังสียูวีที่รุนแรงได้
- ฮีโมโครมาโตซิส (ภาวะเหล็กเกินในเลือด)
- โรคมะเร็ง
การรักษาริมฝีปากคล้ำ
- ริมฝีปากคล้ำสามารถรักษาได้โดยการเริ่มรักษาจากต้นตอ
- ตัวอย่างเช่น หากมีข้อสรุปว่าริมฝีปากเปลี่ยนสีเนื่องจากยาบางชนิด แพทย์ของคุณสามารถเปลี่ยนยาให้ได้
- การรักษาด้วยเลเซอร์
- การบำบัดด้วยความเย็นจัด
- การผ่าตัด
- การรักษาโดยคลื่นแสง (IPL)
- การบำบัดโดยใช้แสงกระตุ้น (โฟโตไดนามิก)
- ครีมฟอกสีผิว