ภาวะความหมองคล้ำที่เกิดบนร่างกาย
ความหมองคล้ำของผิวหนังเกิดขึ้นเมื่อส่วนหนึ่งของผิวมีสีเข้มกว่าบริเวณอื่นโดยรอบ รอยคล้ำนี้เกิดขึ้นจากเม็ดสีผิวหรือเมลานิน เมลานินเป็นเม็ดสีที่ผลิตโดยเซลล์ชื่อเมลาโนไซต์ เมลานินเป็นสารสำคัญที่ทำให้เกิดสีผิว เมื่อผิวหนังผลิตเมลานินมากขึ้นก็จะทำให้เกิดรอยคล้ำขึ้น
บริเวณที่เห็นความหมองคล้ำมากที่สุด
ความหมองคล้ำส่วนใหญ่พบเห็นได้ในบริเวณที่มีการเปิดเผย เช่น ผิวหน้า อย่างไรก็ตาม พื้นที่ในร่มผ้าและพื้นที่ที่มีการเสียดสีมากก็สามารถเกิดความหมองคล้ำขึ้นได้เช่นกัน โดยรวมถึง คอ, ข้อศอก, หัวเข่า และรักแร้
สาเหตุของการเกิดความหมองคล้ำต่างๆบนร่างกาย
ความหมองคล้ำที่พบในร่มผ้าส่วนใหญ่เกิดจากสภาพผิวที่เรียกว่า อะแคนโทสิสนิกริแคน (Acanthosis Nigricans หรือ AN) เป็นภาวะที่ผิวหนังเกิดรอยที่มีความคล้ำมากกว่าผิวหนังปกติ สาเหตุอื่นของการเกิดรอยดำหรือความหมองคล้ำบนผิวได้แก่:
1. การสะสมของผิวหนังที่ตายแล้ว:
ผิวหนังต้องมีการผลัดเซลล์ผิวเพื่อกำจัดสิ่งสกปรกและเผยผิวที่อ่อนนุ่ม
2. การสัมผัสรังสี UV:
รังสีอัลตราไวโอเลตอาจทำร้ายผิวหนังได้หากได้รับในปริมาณมากเกินไป ครีมกันแดดที่ดีที่มีค่า SPF เพียงพอจึงเป็นสิ่งสำคัญ
3. ยาคุมกำเนิด:
ยาคุมกำเนิดเหล่านี้เป็นฮอร์โมนที่ป้องกันไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์ แต่ความไม่สมดุลของฮอร์โมนที่เกิดขึ้นอาจส่งผลต่อร่างกายได้หลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือการเกิดรอยดำหรือความหมองคล้ำ
4. การตั้งครรภ์:
ร่างกายทำงานด้วยความเร็วสูงเพื่อรองรับการเกิดขึ้นของสิ่งมีชีวิตที่กำลังเติบโตอยู่ภายใน การทำงานนั้นรวมถึงการหลั่งฮอร์โมนต่าง ๆ ความไม่สมดุลของฮอร์โมนดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดรอยดำตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งรอยดำจะคงอยู่ตลอดไปหากไม่ดำเนินการแก้ไข
5. โรคเบาหวาน:
ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีแนวโน้มที่จะเกิดรอยปื้นสีดำและอะแคนโทสิสนิกริแคน หากแต่ความสัมพันธ์ของโรคกับอาการนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แม้แต่ในกลุ่มของวัยรุ่นที่มีความหมองคล้ำบริเวณรักแร้และข้อต่อมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเบาหวานในอนาคต
6. โรคอ้วน:
ความอ้วนทำให้ผิวหนังขยายตัวออกและเกิดการเสียดสีกันมากขึ้นเพราะมีขนาดที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดการอักเสบ พื้นที่ที่มีการเสียดสีกันอย่างต่อเนื่องมีแนวโน้มที่จะเกิดความหมองคล้ำมากขึ้น
7. กระและจุดด่างดำ:
กระและจุดด่างดำเหล่านี้ปรากฏขึ้นตามวัย ส่วนใหญ่จะเห็นได้ชัดในช่วงวัยรุ่นหรือช่วงเข้าสู่วัยชรา ผู้หญิงส่วนใหญ่มักมีกระและจุดด่างดำหลังจากวัยหมดประจำเดือน อย่างไรก็ตาม ตามกฎทั่วไปแล้ว ผิวหนังจะเริ่มเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลงหลังจากอายุ 25 ปีขึ้นไป
8. เชื้อชาติ (ชาติพันธุ์):
รอยดำมีแนวโน้มที่จะเห็นได้ชัดในผู้ที่มีผิวสีเข้ม ชาวแอฟริกันและลาตินที่มีผิวสีเข้มจึงมีโอกาสที่จะเกิดรอยดำและความหมองคล้ำได้มากกว่า
9. การติดเชื้อรา:
การติดเชื้อราพบได้บ่อยในบริเวณที่มีการเสียดสีหรือบริเวณที่มีเหงื่อมาก เช่น บริเวณซอกรักแร้ ใต้ทรวงอก ข้อพับขา เป็นต้น ผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณร่องของผิวหนังที่ซึ่งการติดเชื้อแคนดิดาอาจนำไปสู่การเกิดรอยดำของผิวหนังบริเวณนี้ นอกจากนั้น อาการคันและกลิ่นเหม็นสามารถก่อให้เกิดความเครียดอย่างรุนแรงแก่ผู้ป่วยได้
10. สภาพผิวเฉพาะ:
ผู้ป่วยที่มีโรคผิวหนังมาก่อน เช่นโรคสะเก็ดเงินหรือผิวหนังอักเสบมีแนวโน้มที่จะเกิดรอยดำได้
11. รอยดำจากสิว:
รอยดำจากสิวหรือรอยแผลที่เคยเกิดขึ้นส่งผลให้เกิดรอยดำบนผิวหนังได้ และค่อนข้างยากต่อการรักษา